เมนู

ว่าด้วยนิทเทสอดีตติกะที่ 18


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอดีตติกะ ต่อไป
บทว่า อตีตา (ล่วงไปแล้ว) ได้แก่ ก้าวล่วงไป 3 ขณะ (อุปาท-
ขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ). บทว่า นิรุทฺธา (ดับแล้ว) ได้แก่ ถึงความดับแล้ว.
บทว่า วิคตา (ปราศไปแล้ว ) ได้แก่ถึงความพินาศไปแล้ว หรือถึงจากไปแล้ว.
บทว่า วิปริณตา (แปรไปแล้ว) ได้แก่ ถึงการแปรปรวนโดยละปกติไป.
ที่ชื่อว่า อัสดงคตแล้ว เพราะอรรถว่า ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้กล่าวคือ
ความดับ. บทว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ถึงความดับสูญแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วย
อุปสรรค. บทว่า อุปฺปชฺชิตฺวา วิคตา (เกิดขึ้นแล้วปราศไป) ได้แก่
เกิดขึ้นแล้วก็จากไป เหตุโดยการตรัสอดีตอีกข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้ว
ทั้งนั้น. แม้ในธรรมมีอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า อตีตํเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์โดยส่วนที่ล่วงไปแล้ว)
ได้แก่ถึงการนับโดยส่วนธรรมที่เป็นอดีต. ก็ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้นเป็นไฉน ?
ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ. แม้ใน
ธรรมที่เป็นอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในนิทเทสอตีตารัมมณติกะ (ที่ 19) ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อตีเต
ธมฺเม อารพฺภ
(ปรารภอดีตธรรม) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเฉพาะปริตตธรรม
และมหัคคตธรรมเท่านั้น เพราะว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นปรารภ
ธรรมเป็นอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น.

ว่าด้วยนิทเทสอัชฌัตตติกะที่ 20


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอัชฌัตตติกะ ต่อไป

ด้วยบททั้งสองว่า เตสํ เตสํ (เหล่านั้น ๆ) ได้แก่ ทรงกำหนด
เอาสัตว์ทั้งหมด. บททั้งสองว่า อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ (เป็นภายในเป็นเฉพาะ
ตน) เป็นชื่อของธรรมที่เป็นภายในเกิดในตน. บทว่า นิยตา ได้แก่
เกิดแก่ตน. บทว่า ปาฏิปุคฺคลิกา ได้แก่ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล. บทว่า
อุปฺปาทินฺนา (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ จริงอยู่
ธรรมเหล่านั้นเกิดด้วยกรรมหรือไม่ก็ตาม แต่ในอัชฌัตตติกนิทเทสนี้ ตรัสว่า
อุปาทินนะ ด้วยอำนาจตัณหายึดถือไว้และทิฏฐิลูบคลำแล้ว.
บทว่า ปรสตฺตานํ (ของสัตว์อื่น) ได้แก่ สัตว์ที่เหลือเว้นตนเอง.
คำว่า ปรปุคฺคลานํ (บุคคลอื่น) เป็นไวพจน์ของคำว่า ปรสตฺตานํ นั่นเอง.
คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ. บทว่า ตทุภยํ ตัดบทเป็น
ตํ อุภยํ แปลว่า ธรรมทั้ง 2 นั้น.
ในปฐมบท แห่งอัชฌัตตารัมมณติกะ (ที่ 21) พึงทราบว่า ได้แก่
ธรรมที่เป็นปริตตะ และมหัคคตะ ในทุติยบท พึงทราบว่า ได้แก่ ธรรม
ทั้งหลาย (ปริตตธรรมและมหัคคตธรรม) แม้อัปปมาณธรรม. ในตติยบท
พึงทราบว่า ได้แก่ ปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น. แต่ว่าอัปปมาณธรรม
(ในทุติยบท) ไม่กระทำอารมณ์ในภายนอกและในภายในตามกาล (นิพพาน
เป็นกาลวิมุตติ).
นิทเทสแห่งสนิทัสสนติกะ (ที่ 22) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

เหตุโคจฉกะ


[689] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน ?
กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 อัพยากตเหตุ 3 กามาวจรเหตุ 9 รูปาวจร-
เหตุ 6 อรูปาวจรเหตุ 6 โลกุตรเหตุ 6.
[690] บรรดาเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ 3 เป็นไฉน ?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ.
บรรดากุศลเหตุ 3 นั้น อโลภะ เป็นไฉน ?
การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยา
ที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คืออโลภะ
นี้เรียกว่า อโลภะ.
อโทสะ เป็นไฉน ?
ไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย
ไมตรีกิริยาที่สนิทสนม ความสนิทสนม การเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเอ็นดู
ความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิด
เบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ.
อโมหะ เป็นไฉน ?
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้
ทั้งในส่วนอดีต และส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม
นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร